คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้มอบหมายให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่หลักในการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการ นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชัน และการห้ามให้ หรือเรียกรับสินบน รวมทั้งข้อกำหนดด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ ภายใต้กรอบของกฎหมาย หลักเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติและประกาศเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีของกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับ รวมถึงให้คำแนะนำ และเสนอแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีแก่คณะกรรมการบริษัท และเสนอแนวทางการปลูกฝังค่านิยมขององค์กรที่สะท้อนการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เกิดการปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยบริษัทฯ ได้จัดทำ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตั้งแต่เริ่มแรกจัดตั้งบริษัท และได้ทบทวน / แก้ไขเพิ่มเติมนโยบายการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Policy) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2560 ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศใช้ และสอดคล้องกับบริบทของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด เป็นฉบับทบทวนครั้งที่ 7 เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้เผยแพร่นโยบายดังกล่าวบน Website บริษัทฯ ที่ https://www.bcpggroup.com/storage/download/cg/policy/20220113-bcpg-cg-policy-th.pdf
การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน (CG Code)
บริษัทฯ กำหนดเป็นนโยบาย ที่จะยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้ในปี 2565 บริษัทฯ ใด้รับมอบรางวัลต่างๆ และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจแก่บุคลากรทุกระดับในองค์กรในด้านการกำกับดูแลกิจการ สรุปได้ ดังนี้
- ได้รับการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companiss - CGR) ประจำปี 2565 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในระดับดีเลิศ (Excellenoe) หรี่อระดับ 5 ตราสัญลักษณ์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
- ในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับเชิญเข้าร่วมประเมิน ASEAN Corporate Governance Scorecard เป็นครั้งแรก โดยจะจัดการประเมินดังกล่าวขึ้นทุกรอบ 2 ปี ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการประเมินจัดลำดับให้อยู่ในกลุ่ม ASEAN Assst Class ซึ่งหมายถึงบริษัทฯ ได้ฝานเกณฑ์การประเมิน ASEAN CG Scorecard สูงกว่าร้อยละ 75 ขึ้นไป
- คงการรับรองสถานะสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกขนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand's Private Seotor Collactive Action Coalition Against Corruption: CAC) มีอายุสมาชิก 3 ปี โดยครบกำหนดสิ้นสุดอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
- สถาบันไทยพัฒน์พิจารณาคงการจัดอันดับให้บริษัทฯ มีสถานะเป็นกิจการวิถียั่งยืน (ESG100) โดยเป็น 1 ใน 100 บริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Govemance - ESG) ประจำปี 2666 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
- หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ได้รับการประเมินโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)และคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นกลุ่ม ยั่งยืน (Thailand Sustainability Index : THSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
โดยรายละเอียดมาตรการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี อ้างอิงตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 8 หมวด สรุปได้ ดังนี้
จากแนวทางและคำแนะนำที่ได้จากคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการได้จัดทำและนำเสนอทิศทางการดำเนินธุรกิจ แผนกลยุทธ์ระยะยาว แผนงานและงบประมาณ และอัตรากำลังคนประจำปี เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท ในการประชุม Workshop เพื่อทบทวนแผนกลยุทธ์ และกรอบยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี รวมจำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 1 และ 15 กันยายน 2564 ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาและอภิปรายกันอย่างเปิดกว้าง เพื่อให้เกิดความเห็นชอบร่วมกันก่อนที่จะพิจารณาอนุมัติแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี ของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานต่างๆ สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้ประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการทั้งในระดับองค์กร และระดับปฏิบัติการเพื่อรองรับความเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนา และต่อยอดจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ขององค์กรในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีจำนวน และสัดส่วนของกรรมการอิสระที่เหมาะสมกับขนาดของกิจการบริษัทฯ โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีกรรมการรวมจำนวน 12 คน โดยเป็นกรรมการอิสระรวมจำนวน 8 คน (คิดเป็นร้อยละ 66.67 ของกรรมการทั้งคณะ) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยรวม 5 คณะ เพื่อช่วยพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่างๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ โดยคณะกรรมการชุดย่อยทั้ง 5 คณะ ได้แก่
-
1.) คณะกรรมการตรวจสอบ
-
2.) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
-
3.) คณะกรรมการการลงทุน
-
4.) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร
-
5.) คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย พิจารณาได้จาก Website ของบริษัทฯ ภายใต้หัวข้อ ข้อมูลองค์กร หัวข้อย่อย โครงสร้างการจัดการ ตาม Link ดังนี้ https://www.bcpggroup.com/th/management-structure/board-of-directors
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการสรรหาตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้จัดการใหญ่ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ว่าหากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในสามารถเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งต่างๆ นี้ได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดเช่นนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบริษัทฯ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ และเพื่อจัดเตรียมบุคลากรภายในองค์กรให้ปฏิบัติหน้าที่แทนในกรณีที่ผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง หรือตำแหน่งว่างลงด้วยเหตุอื่นใด ตลอดจนลดความเสี่ยงหรือผลกระทบจากการขาดความต่อเนื่องในการบริหารจัดการ บริษัทฯ จึงได้มีการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง ทั้งนี้บุคคลที่เหมาะสมจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน หรือโดยฝ่ายจัดการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาคัดเลือกของบริษัทฯ ที่ได้มีการกำหนดไว้
นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้จัดการใหญ่ และ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้ฝ่ายจัดการทำหน้าที่ดูแลการอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้บริหารระดับสูง นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังได้วางแนวทางการพัฒนาเพิ่มเติม โดยให้มีการหมุนเวียนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้มีความเข้าใจ มีประสบการณ์ และความพร้อมในการบริหารองค์กรโดยรวม ทั้งนี้ พนักงานตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการอาวุโสขึ้นไปสามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้จัดการใหญ่ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ หากมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งขันทางการค้า พนักงาน เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ รวมถึง ชุมชนและสังคมโดยรวม ให้พึงได้รับสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมจากการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดเป็นนโยบาย และแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นบรรทัดฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงาน เช่น มุ่งเน้นเรื่องการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การกำกับดูแลป้องกันการล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ การปฏิบัติต่อคู่ค้า หรือคู่แข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรม การสร้างจิตสำนึกและคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาให้มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของกิจการ พร้อมทั้งจัดให้มีช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม รวมถึงการจัดให้มีมาตรการรับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนจากทั้งพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น เกี่ยวกับการกระทําผิดกฎหมาย จรรยาบรรณหรือพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือคอร์รัปชั่นของบุคคลในองค์กร (ถ้ามี) นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังนโยบาย และแนวปฏิบัติที่ดีในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของกลุ่มบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
อีกทั้งบริษัทฯ ได้มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจในลักษณะเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยประสานความร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรเพื่อร่วมกันดำเนินธุรกิจโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ต่างๆ (โครงการ Solar Cooperation) ด้วย
สำหรับด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ปลูกฝัง และเน้นย้ำเป็นวัฒนธรรมองค์กรแก่พนักงานทุกระดับให้ตระหนักรู้เสมอว่าการดำเนินการต่างๆ จะต้องพิจารณาป้องกันมิให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม หรือให้มีผลกระทบน้อยที่สุด โดยต้องมีกระบวนการเพื่อติดตามกำกับดูแลให้เกิดความมั่นใจ และเป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้บริษัทฯ มุ่งเน้นการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพในระดับสากล รวมถึงการพัฒนา/ปรับปรุงระบบงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทฯ ได้ยื่นขอรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001 และมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของโรงผลิตไฟฟ้าทุกแห่งในประเทศไทยตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการ และถึง ณ ปัจจุบัน โรงผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยของกลุ่มบริษัทฯ ได้รับการตรวจประเมินรับรองตามมาตรฐาน ISO9001 และ ISO 14001 แล้ว
ทั้งนี้รายละเอียดของการดำเนินกิจกรรม ด้านชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนขององค์กรระหว่างปี 2564 สามารถศึกษาข้อมูลได้จากหัวข้อ การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ของแบบรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ประจำปี 2564
นโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัท จัดให้บริษัทฯ มีระบบบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทุกด้าน ครอบคลุมปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ทางธุรกิจ การเงิน การผลิต และการปฏิบัติการด้านอื่น ๆ โดยพิจารณาถึงโอกาสที่อาจจะเกิดความเสี่ยงขึ้น และระดับความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยง มีการกำหนดมาตรการในการป้องกันแก้ไขและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดมาตรการในการรายงานและการติดตามประเมินผล โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยงร่วมกับฝ่ายจัดการอย่างใกล้ชิด และรายงานผลการปฏิบัติงานยังคณะกรรมการบริษัทเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทบทวนระบบ หรือประเมินประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยงในระดับฝ่ายงานเป็นรายไตรมาส และในระดับองค์กรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือในทุกๆ ระยะเวลาที่พบว่าระดับความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
นโยบายด้านการควบคุมภายใน
คณะกรรมการบริษัท จัดให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอในการปกป้องรักษาและดูแลเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์ของบริษัทฯ ตลอดจนการกำหนดลำดับขั้น รวมถึงจัดทำตารางอำนาจอนุมัติ (Table of Authority) เพื่อเป็นการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาถึงการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างกัน พร้อมทั้งได้จัดทำระเบียบการปฏิบัติงานต่างๆ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นมาตรฐานอ้างอิงในการดำเนินงาน โดยมีสำนักตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานอิสระ ที่รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานทั้งหน่วยงานธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุนให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนด
นโยบายการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัทฯ ได้ประกาศใช้นโยบายการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม และดำเนินการให้ผู้บริหารของบริษัทฯ ที่ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการผู้แทนของบริษัทฯ ในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ลงนามรับทราบหน้าที่และความรับผิดชอบที่ระบุไว้ในนโยบายดังกล่าว โดยกรรมการผู้แทนซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมแทนคณะกรรมการบริษัท ต้องสรุปรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทที่ตนไปดำรงตำแหน่ง เสนอยังที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ จะเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญทั้งข้อมูลทางการเงิน และมิใช่ทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใสผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมและน่าเชื่อถือ โดยกําหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
- มุ่งมั่นในการให้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันแก่ผู้ถือหุ้น สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุน รวมไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลและสาธารณชนทั่วไป โดยให้ความสําคัญกับการสื่อสารอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาและสม่ำเสมอ นโยบายการเปิดเผยข้อมูลนี้ครอบคลุมถึงทุกช่องทางการสื่อสาร เช่น แบบแสดงข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) และรายงานผลการดําเนินงานรายไตรมาสต่อนักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วไป ข่าว เอกสารแถลงข่าว จดหมายถึงผู้ถือหุ้น เว็บไซต์ของบริษัทฯ และสื่ออื่นๆ
- ไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนให้แก่พนักงานที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้แก่กลุ่มบุคคลหรือบุคคลอื่นใด (รวมถึงนักลงทุน สื่อมวลชนและนักวิเคราะห์) จนกว่าข้อมูลนั้นจะได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว
- หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดําเนินงานที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้น หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการจัดส่งงบการเงินให้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- บริษัทฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ มีหน้าที่หลักในการติดต่อประสานงานกับผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ นักลงทุน และบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการข้อมูลทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ และธุรกรรมใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ
โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการเผยแพร่ข้อมูลต่อนักลงทุนในกิจกรรม Opportunity Day และได้จัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานประจำไตรมาสกับนักวิเคราะห์ และนักวิเคราะห์ของสถาบันต่างๆ (Analyst ‘s Meeting Day) การทำ Press Release รวมถึงการต้อนรับนักลงทุน (กิจกรรม One on One Meeting) ที่ขอนัดหมายเข้าเยี่ยมชมกิจการและรับทราบข้อมูลจากบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังกำหนดให้มีการกำกับดูแลกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลผู้ซึ่งล่วงรู้ข้อมูลภายใน มิให้กระทำการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Misconduct) โดยบริษัทฯ กําหนดนโยบาย และข้อกำหนดห้ามมิให้บุคคลซึ่งล่วงรู้และครอบครองข้อมูลภายในของบริษัทฯ นําข้อมูลดังกล่าว ซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น โดยได้กําหนดแนวปฏิบัติไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน
บริษัทฯ ตระหนัก และให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยกำหนดให้การดำเนินการต่างๆ พึงต้องรักษาสิทธิของ ผู้ถือหุ้นในฐานะเจ้าของกิจการ ผ่านกระบวนการใช้สิทธิโดยการเข้าร่วมประชุมสามัญ / วิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อออกเสียงลงคะแนนอนุมัติในระเบียบวาระการประชุมต่างๆ ที่สำคัญ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิ และจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิด หรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ ดังนี้
- สิทธิซื้อขายและโอนหุ้น และสิทธิในส่วนแบ่งกำไร
- สิทธิได้รับสารสนเทศที่เพียงพอ ทันเวลา ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ และตนเอง
- สิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อตัดสินใจอนุมัติในเรื่องที่สำคัญต่างๆ เช่น การแต่งตั้งกรรมการเพื่อทําหน้าที่แทนตน การแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี และมีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของบริษัทฯ ตามที่กฎหมาย หรือนโยบายฯ กำหนด โดยบริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้น รวมถึงนักลงทุนสถาบันเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
- สิทธิประการอื่นๆ ที่ผู้ถือหุ้นพึงได้รับตามกฎหมาย
โดยบริษัทฯ มีแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น สรุปได้ดังนี้
- การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุม และเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ และสามารถตั้งคําถาม ขอคําอธิบาย และแสดงความเห็นของตนได้อย่างเหมาะสมเป็นการล่วงหน้ากว่า 4 เดือน
- ผู้ถือหุ้นจะได้รับหนังสือเชิญประชุมและสารสนเทศเกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่จัดประชุม ที่บริษัทฯ ได้จัดไว้อย่างเหมาะสม ตลอดจนวาระการประชุม และข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องพิจารณา ซึ่งในวาระการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทฯ ได้เปิดเผยจำนวนเงินที่จ่ายจริงเปรียบเทียบกับนโยบาย โดยบริษัทตระหนักถึงการนำส่งข้อมูลเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสพิจารณาศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนการประชุม รวมถึงได้โฆษณาคําบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ 3 วัน ติดต่อกันและไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันประชุม
- ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ ในระเบียบวาระเรื่องการเลือกตั้งกรรมการ ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
- ประธานกรรมการ กรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง มีความรับผิดชอบในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น หรือการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) เพื่อชี้แจง และตอบคำถามแก่ผู้ถือหุ้น
- หลังการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะเผยแพร่สารสนเทศเกี่ยวกับผลการพิจารณาและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของ ตลท. และ เว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจไม่ได้เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้นสามารถรับทราบข้อมูลโดยทั่วกันในทันทีภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมหรือภายในเช้าวันทำการถัดไป นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กํากับดูแลให้ผู้ถือหุ้นทุกรายพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม