พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นพลังงานทดแทนที่สามารถนำมาใช้อย่างไม่หมดสิ้น โดยเฉพาะการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า
การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไม่มีมลภาวะทางเสียง
บีซีพีจีดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทย บีซีพีจีนับเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะหน่วยธุรกิจของบางจากคอร์ปอเรชั่น และได้ก่อตั้งเป็นบริษัทขึ้นในปี 2558 ด้วยการรับโอนกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย จากบริษัทบางจากฯ
ปัจจุบันมีโครงการตั้งอยู่ใน 11 จังหวัดของประเทศไทย ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร และธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป)
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจดำเนินโครงการนำร่องแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ผ่านเทคโนโลยีบล็อคเชน ในโครงการ T77และโครงการ Smart Universityมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทำให้ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 175.2 เมกะวัตต์
164.2 เมกะวัตต์
ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
11 เมกะวัตต์
อยู่ระหว่างการพัฒนา
ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมจากประเทศไทย บีซีพีจีได้ขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไปยังประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 89.7 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย
14.7 เมกะวัตต์
ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
75 เมกะวัตต์
อยู่ระหว่างการพัฒนา
ในปี 2562 ได้มีการจัดตั้งบริษัท Thai Digital Energy Development ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทลูกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) เพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด โดยใช้นวัตกรรมช่วยในการบริหารจัดการ ผ่านธุรกิจลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก ธุรกิจลงทุนระบบประหยัดพลังงานและบริหารจัดการพลังงาน และธุรกิจอื่นๆ ด้าน Digital Energy
- อยู่ระหว่างการพัฒนา
- ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
ชัยภูมิ : บำเหน็จณรงค์ -1 (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
8 MW
กาญจนบุรี : ท่าม่วง (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
3.9 MW
สระบุรี : พระพุทธบาท (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
5 MW
ชัยภูมิ : บำเหน็จณรงค์ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
16 MW
นครราชสีมา : ด่านขุนทด (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
8 MW
อ่างทอง : โซลาร์สหกรณ์วิเศษชัยชาญ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
5 MW
พระนครศรีอยุธยา : บางปะอิน (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
38 MW
พระนครศรีอยุธยา : บางปะหัน (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
16 MW
พระนครศรีอยุธยา : โซลาร์สหกรณ์บางปะอิน (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
5 MW
พระนครศรีอยุธยา : โซลาร์สหกรณ์พระนครศรีอยุธยา (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
2 MW
ปราจีนบุรี : กบินทร์บุรี (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
16 MW
บุรีรัมย์ : หนองกี่ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
8 MW
บุรีรัมย์ : ประโคนชัย (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
8 MW
กรุงเทพฯ : โครงการนำร่องแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้า<br>ผ่านเทคโนโลยีบล็อคเชน (T77) (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
0.5 MW
พระนครศรีอยุธยา : โครงการโซลาร์ลอยน้ำเอกชนบางปะอิน (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
2.1 MW
กาญจนบุรี : บ่อพลอย (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
10 MW
ลพบุรี : โคกสำโรง (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
5 MW
ปราจีนบุรี : เมือง ปราจีนบุรี (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
5 MW
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : โครงการ Smart University (อยู่ระหว่างการพัฒนา)
9 MW
- อยู่ระหว่างการพัฒนา
- ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
โคมากาเนะ (อยู่ระหว่างการพัฒนา)
25 MW
ยาบุกิ (อยู่ระหว่างการพัฒนา)
20 MW
โกเตมบะ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
4 MW
ชิบะ (อยู่ระหว่างการพัฒนา)
30 MW
ทะกะโมะริ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
1 MW
นาคาสึกาวะ & ทารุมิสุ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
8.8 MW
โนจิริ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว)
0.9 MW